โครงสร้างการบริหาร
ทำเนียบบุคลากร
ข้อมูลพื้นฐาน อบต.
หมู่บ้านในเขต อบต.
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
งานกิจการสภา
งานควบคุมภายใน
งานงบประมาณ
งานการเงิน
รายงานการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
กองทุนหลักประกันสุขภาพ
งานสวัสดิการสังคม
งานบริหารงานบุคคล
งานศาสนา วัฒนธรรมและนันทนาการ
งานพัสดุ
งานสาธารณสุข
งานป้องกันสาธารณภัย
พิจารณา ทบทวน ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิภารกิจ
แบบสำรวจความคิดเห็น
คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเว็บไซต์ใหม่ของ อบต.
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
โรงเรียนในเขตตำบล
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
ออนไลน์ทั้งหมด 2 คน
หมายเลข IP 3.236.100.210
คุณเข้าชมลำดับที่ 2,972,529

เฟสบุ๊ค อบต
LINE ID


  หน้าแรก     การขายฝาก 

การขายฝาก
การขายฝาก  

การขายฝาก

ความหมาย :
         
สัญญาขายฝากเป็นสัญญาซื้อขายซึ่งสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อโดยผู้ซื้อตกลงในขณะทำสัญญาว่าผู้ขายมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ภายในกำหนดเวลาเท่าใดแต่ต้องไม่เกินเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เช่น ขายที่ดินโดยมีข้อตกลงว่าถ้าผู้ขายต้องการซื้อคืนผู้ซื้อจะยอมขายคืนเช่นนี้ถือว่าเป็นข้อตกลงให้ไถ่คืนได้ 
         
ตัวอย่างนายสีนำสวนทุเรียนไปขายกับผู้ใหญ่มาโดยมีข้อตกลงในขณะทำสัญญาว่าผู้ใหญ่มายินยอมให้นายสีไถ่ที่สวนทุเรียนนั้นคืนได้ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ซื้อขายที่สวนกันสัญญาชนิดนี้เรียกว่า สัญญาขายฝาก
ข้อตกลงกันว่า ผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์สินคืนได้ข้อตกลงนี้จะต้องมีขึ้นในขณะทำสัญญาซื้อขายกันเท่านั้นถ้าทำขึ้นภายหลังจากที่ได้ทำสัญญาซื้อขายแล้ว สัญญาดังกล่าวไม่ใช่สัญญาขายฝากแต่เป็นคำมั่นว่าจะขายคืนนั้น

ทรัพย์สินที่สามารถขายฝากได้ :
          ทรัพย์สินทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นประเทศใดก็ตาม เช่นที่ดิน ที่สวน ไร่นา บ้าน รถยนต์ เรือ เกวียน โทรทัศน์ ฯลฯ ย่อมสามารถขายฝากได้เสมอ

แบบของสัญญาขายฝาก :
          (1) ถ้าเป็นสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ (คือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้) เช่น ที่ดิน ที่นา บ้าน ฯลฯต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานน้าที่ในกรณีที่เป็นที่ดินต้องจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินถ้าเป็นบ้านก็จดต่อที่ว่าการอำเภอที่บ้านนั้นตั้งอยู่ถ้าไม่ทำตามนี้แล้วถือว่าสัญญาขายฝากจะเสียเปล่าบังคับไม่ได้เท่ากับว่าไม่ได้ทำสัญญากันเลย
ตัวอย่าง นายทุเรียนต้องการขายฝากที่ดิน 1 แปลงแก่นายส้มโอ ก็ต้องทำสัญญาขายฝากที่ดินนี้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินและจดทะเบียนการขายฝากที่ดินนี้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินถ้าไม่ทำเช่นนี้แล้วถือว่าสัญญาขายฝากรายนี้เสียเปล่าใช้ไม่ได้มาตั้งแต่แรก 
          (2)
ถ้าเป็นการขายฝากอสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ( คือ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ซึ่งกำหนดไว้เป็นพิเศษว่าจะต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่) เช่น แพเรือยนต์ สัตว์พาหนะ ฯลฯ ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยที่เรือจะจดทะเบียนที่กรมท่า สัตว์พาหนะและแพจะต้องจดที่อำเภอถ้าไม่ทำตามนี้แล้วถือว่าสัญญาขายฝากจะเสียเปล่าใช้บังคับไม่ได้เลย
          (3)
ถ้าเป็นขายฝากสังหาริมทรัพย์ชนิดธรรมดา (คือ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้เว้นแต่เรือ แพ

         
สัตว์พาหนะที่ต้องทะเบียนดังกล่าวในข้อ 1) ที่มีราคา 500 บาทหรือเรียกว่า 500 บาทขึ้นไป เช่น รถยนต์ เกวียน เครื่องสูบน้ำเป็นต้นการขายฝากนี้จะทำเป็นหลักฐานเป็นหนังสือให้ผู้ขายฝากและผู้ซื้อลงชื่อไว้ในหนังสือหรือต้องมีการวางมัดจำหรือมีการชำระหนี้บางส่วนไปแล้วมิฉะนั้นจะฟ้องร้องให้ศาลบังคับไม่ได้

ข้อตกลงไม่ให้ผู้ซื้อฝากจำหน่ายทรัพย์สินที่ขายฝาก :
          ในการตกลงฝากคู่สัญญาจะตกลงกันไม่ให้ผู้ซื้อฝากจำหน่ายทรัพย์สินที่ขายฝากก็ได้แต่ถ้าผู้ซื้อขายฝากฝ่าฝืนข้อตกลงที่กำหนดในสัญญาโดยนำทรัพย์สินที่ขายฝากไปจำหน่ายให้ผู้อื่นผู้ซื้อฝากจะต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายใดๆที่เกิดขึ้นแก่ผู้ขายฝาก 
         
ตัวอย่างนางดำนำแหวนแต่งงานของตนซึ่งมีราคา 70,000 บาทไปขายฝากแก่เถ้าแก่เฮงในราคา 50,000 บาท โดยสัญญาตกลงว่าห้ามเถ้าแก่เฮงนำแหวนไปขายให้แก่บุคคลอื่นต่อมาเถ้าแก่นำแหวนไปขายให้นางดีโดยนางดีไม่ทราบว่าแหวนนี้เป็นของใคร เป็นเหตุให้นางดำไม่สามารถติดตามเอาแหวนคืนได้เช่นนี้เถ้าแก่เฮงต้องชดใช้ค่าเสียหายอันเป้นราคาแหวน 20,000 บาท

กำหนดเวลาในการไถ่ทรัพย์สิน :
          (1)
ถ้าเป็นการขายฝากอสังหาริมทรัพย์ ต้องกำหนดเวลาในการใช้สิทธิไถ่คืนไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่มีการซื้อขายฝากกัน แต่ไม่ได้กำหนดเวลาในการไถ่เอาไว้หรือกำหนดเวลาไว้เกินกว่า 10 ปี กฎหมายให้ลดเวลาลงเหลือแค่ 10 ปีเท่านั้น 
          (2)
ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษและชนิดธรรมดาต้องกำหนดเวลาไถ่คืนไม่เกิน 3 ปี นับตั้งแต่วันซื้อขายฝากกันแต่ถ้าไม่ได้กำหนดเวลาในการไถ่คืนเอาไว้ หรือกำหนดเวลาไว้เกินกว่า 3 ปีให้ลดเวลาลงเหลือ 3 ปี เท่านั้น
สาส์นจากผู้บริหาร
ปฏิทินกิจกรรม
กันยายน 2567
อา พฤ
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 1617 18 19 20 21
22 23 24 25 26 27 28
29 30 1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
วันที่ 16 กันยายน 2567
เว็บไซต์บริการ
กฎหมายน่ารู้
กฎหมายในการปฏิบัติงาน
ความรู้เกี่ยวกับ อบต.
เว็บไซต์ท้องถิ่นไทย
การให้บริการ
อบต.ในเครือข่าย

แผนพัฒนาท้องถิ่น
ศูนย์ร้องเรียน/ร้องทุกข์
ข้อมูล ITA
ข้อมูล LPA ประจำปี 2566
ประมวลจริยธรรมเจ้าหน้าที่
คู่มือสำหรับประชาชน
แบบสอบถาม
งานตรวจสอบภายใน
การติดตามประเมินผลแผน
ข้อมูลการติดต่อ/แผนที่
มาตรการประหยัดพลังงาน
ร้องเรียนการทุจริต
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
นโยบาย No Gift Policy
 
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวโคก
หมู่ 5 บ้านหนองบัวโคก ต.หนองบัวโคก อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ 31130
Tel : 044-110621   Fax : 044-110621
Email : saraban_06311013@dla.go.th
Copyright © 2020 by OPSTECH All Right Reserved.